22 ธันวาคม 2555

ฟ้าใสที่บ่อเกลือ

เมื่อวันที่ 17-21 ธันวาคม 2555 ผมและคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลฯ (Quality Control : QC) ศูนย์ปฏฺิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ  ได้เดินทางไปตรวจสอบประเมินผลพื้นที่สนามทุ่นระเบิดต้องสงสัยแปลงสุดท้ายของ อ.บ่อเกลือ จ.น่าน ที่บ้านห้วยโทน ต.ดงพญา ว่ามีความปลอดภัยหรือไม่หลังจากที่เจ้าหน้าที่เข้าปฎิบัติงานพิสูจน์ทราบแล้ว 

พวกเราออกเดินทางจากกรุงเทพฯ เช้าตรู่ของวันจันทร์ ไปนอนคืนแรกที่ อ.เมือง จ.น่าน วันต่อมาจึงเดินทางไปยัง อ.บ่อเกลือ ระยะทาง 80 กว่ากิโลเมตร แต่ต้องใช้เวลาเดินทางกว่า 3 ชั่วโมงเพราะเส้นทางต้องผ่านภูเขาสูงชันและคดเคี้ยว ความสูงเฉลี่ยจากระดับน้ำทะเลประมาณ 500-900 เมตร ถึงที่พักบ่อเกลือฟ้าใส ใกล้เที่ยง หลังจากนั้นตอนบ่ายรับฟังการบรรยายสรุปจากหน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรมที่ 4 (นปท.4) ถึงสภาพพื้นที่สนามทุ่นระเบิดแปลงสุดท้ายดังกล่าว 


ผืนป่าและภูเขาอุทยานแห่งชาติขุนน่าน ต.ดงพญา อ.บ่อเกลือ จ.น่าน
ที่ตั้งแปลงสนามทุ่นระเบิด
พื้นที่สนามทุ่นระเบิดแปลงนี้เคยเป็นเส้นทางส่งเสบียงอาหารในสมัยการสู้รบระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์และทหารไทย เมื่อสมัยก่อน อยู่บนสันเขาสูงชันระหว่างเขตแดนประเทศไทยกับประเทศลาว ถูกสำรวจเมื่อปี พ.ศ.2542 และบันทึกไว้ว่าเป็นพื้นที่สงสัยจะมีการวางทุ่นระเบิด โดย องค์การความช่วยเหลือแห่งประชาชนชาวนอร์เวย์ (Norwegian People's Aid : NPA) มีขนาดพื้นที่ 129,000 ตร.ม. นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา อ.บ่อเกลือ จ.น่าน จึงถูกบันทึกไว้ในฐานข้อมูลว่ายังมีพื้นที่สนามทุ่นระเบิดที่น่าสงสัยอยู่ ซึ่งต้องรอเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติการด้านทุ่นระเบิดเข้าตรวจสอบและพิสูจน์ทราบต่อไป 

ผืนป่าดิบและเขาสูงชัน
อาจเป็นเพราะเส้นทางเข้าพื้นที่ที่ยากลำบาก ต้องเดินทางด้วยเท้าผ่านพื้นที่ภูเขาสูงชันหลายลูก ลักษณะภูมิประเทศเป็นป่าดิบชื้น เต็มไปด้วยสัตว์แมลง และทาก จึงทำให้พื้นที่สนามทุ่นระเบิดแปลงนี้ต้องถูกทิ้งไว้ จนกระทั่งอีก 13 ปีต่อมา นปท.4 จึงตัดสินใจจัดกำลังพลเข้าพิสูจน์ทราบพื้นที่ในเดือน เม.ย.2555 โดยใช้ทหารรุ่นหนุ่มเป็นกำลังหลัก 

การเข้าไปยังพื้นที่ต้องใช้การเดินทางด้วยเท้า พร้อมแบกอุปกรณ์สัมภาระเป็นเวลานานกว่า 3 ชั่วโมง ท่ามกลางความสูงชันของขุนเขา การสุ่มหาร่องรอยของทุ่นระเบิดเป็นไปด้วยความยากลำบากท่ามกลางอากาศที่หนาวเหน็บบนยอดภูที่สูงจากระดับน้ำทะเลถึง 1,900 เมตร  กำลังพลต้องนอนพักค้างแรมคราวละหลายคืนเนื่องจากการเดินทางขึ้น-ลง ลำบาก  พ่อเสบียงหมดจึงค่อยกลับลงมาพักบนพื้นราบ และถือเป็นการพักฟื้นร่างกายไปในตัว 

หลังจาก นปท.4 ปฏิบัติงานอยู่กว่า 3 เดือน จึงยืนยันว่าพื้นที่สนามทุ่นระเบิดแปลงนี้มีความปลอดภัยแล้ว จึงเป็นหน้าที่ของผมและเพื่อนกรรมการต้องเดินทางเข้าไปตรวจสอบและประเมินผลพื้นที่ (Quality Control : QC) ว่าปลอดภัยจริงหรือไม่ หากปลอดภัยจริงก็จะส่งคืนพื้นที่ให้แก่ประชาชนเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป 

สุดยอด QC 
ผมเองรู้สึกหวั่นใจและไม่ค่อยมั่นใจว่า ตัวเองจะสามารถเดินทางเข้าไปถึงพื้นที่สนามทุ่นระเบิดแปลงนี้ได้สำเร็จหรือไม่ สุขภาพร่างกายจะทนกับสภาพเส้นทางที่แสนทรหดเส้นนี้ได้หรือ เส้นทางเส้นนี้ได้รับการกล่าวขานมาว่า "เป็นเส้นทางที่โหดร้ายที่สุดแห่งหนึ่งในบรรดาการ QC ทั้งหลาย" แต่ในใจอีกส่วนหนึ่งก็มีความมั่นใจ เพราะมันเหมือนความท้าทายที่รอเราอยู่ อีกทั้งมันเป็นความรับผิดชอบในหน้าที่ของผมด้วย ผมคิดอยู่เสมอว่า ลูกน้องเขายังดั้นด้นไปทำงานอยู่ได้เป็นเวลาแรมเดือน พอถึงเวลาให้เราเข้าไปตรวจสอบฯ หากเราไม่ไปก็รู้สึกละอายใจ ผมจึงมีความมุ่งมั่นที่จะต้องเดินทางเข้าไปถึงพื้นที่แปลงนี้ให้ได้ 

ทีมงาน QC ของเราจำนวน 6 คน เริ่มออกเดินทางด้วยเท้าหลังจากหมอกเริ่มจางลง ในเช้าวันพุธที่ 19 ธ.ค.2555 โดยมีกำลังพลของ นปท.4 เจ้าหน้าที่ของอุทยานแห่งชาติขุนน่าน ทหารพราน และชาวบ้านร่วมเดินทางในครั้งนี้ด้วย ผมมอบให้ทีม QC ที่เป็นคนหนุ่มเป็นทัพหน้า นำไปก่อน ส่วนผมพร้อมด้วย รอง ผบ.นปท.4 เป็นทัพหลัง เดินตามหลังไป เนื่องจากไม่มั่นใจตนเองว่าจะเดินไหวหรือปล่าว หากไม่ไหวก็ต้องกลับก่อนเพราะกลัวจะเป็นภาระกับคนอื่น 

น้ำตกไร้ชื่อ ต้นแม่น้ำน่าน
ก่อนขึ้นสู่พื้นที่แปลงสนามทุ่นระเบิด
สมคำเล่าลือ...การเดินทางในผืนป่าอุทยานแห่งชาติขุนน่านในครั้งนี้ ผมเหนื่อยจริงๆ ต้องเดินข้ามภูเขาสูงชันถึง 3 ลูกและก่อนขึ้นพื้่นที่สนามทุ่นระเบิดอีก 1 ลูก ซึ่งลูกสุดท้ายนี้ ชันสุดๆ ชันประมาณ 70-80 องศา ต้องใช้วิธีการคานสี่ขากันเลย ปีนขึ้นก็ปวดหน้าขา ขาลงก็เจ็บกระดูกหัวเข่าและเท้าที่ต้องคอยยันตัว ตะคริวก็กำลังจะกิน แรงก็กำลังจะหมด หลายครั้งผมอยากจะตัดสินใจยกเลิกภารกิจ แต่ในหน้าที่และความรับผิดชอบแล้ว ผมทำไม่ได้ ผมใช้เวลาเดินเท้าเข้าพื้นที่สนามทุ่นระเบิดแปลงนี้ นานถึง  3 ชั่วโมง โชคดีที่ทีมคนหนุ่มทัพหน้าเดินทางถึงพื้นที่ได้และปฏิบัติงานล่วงหน้าไปก่อน 

หลังจากทำการสุ่มตัวอย่างพื้นที่เสร็จเรียบร้อย พวกเรารับประทานอาหารกลางวันกันอย่างเอร็ดอร่อยในพื้นที่สนามทุ่นระเบิดแปลงนี้นี่เอง ทุกคนมีความอิ่มเอิบและสุขใจที่สามารถปฏิบัติภารกิจสุดโหดครั้งนี้ได้สำเร็จด้วยดี แต่พอนึกถึงขากลับ จิตใจก็ประหวั่นพรั่นพรึงขึ้นมาอีกครั้ง ไม่อยากนึกถึงมันเลย 

พวกเราทั้งหมดออกเดินทางกลับจากพื้นที่ประมาณบ่ายโมงกว่า ผมเป็นทัพหลังเหมือนเดิม คราวนี้หนักกว่าเดิมเพราะร่างกายของผมเริ่มอ่อนล้าเต็มที เดินไปด้วยแรงเฉื่อย ตะคริวถามหาอยู่บ่อยครั้งจนต้องแวะพักถี่มากขึ้น การเดินทางกลับเป็นไปด้วยความล่าช้า ผมใช้เวลาเดินทางกลับลงมากว่าจะถึงถนนที่เดิมใช้เวลาเกือบ 4 ชั่วโมง ถึงเอาประมาณ 5 โมงเย็น ทีมงานทั้งหมดนั่งรอกันอยู่แล้ว รอลุ้นกันว่าทัพหลังจะมาถึงเมื่อไหร่ ดีนะที่ยังไม่มืดเสียก่อน ผมหันหลังกลับไปมองขุนเขาที่ผมเพิ่งเดินขึ้นไปเมื่อเช้านี้ แล้วกลับมาถามตัวเองว่า "ผมเดินขึ้นไปได้อย่างไร" 

ฟ้าใสที่บ่อเกลือ 
ภารกิจการตรวจสอบและประเมินผลพื้นที่สนามทุ่นระเบิดแปลงสุดท้ายของ อ.บ่อเกลือ เสร็จสิ้นเรียบร้อย คณะกรรมการ QC ทุกคนมีระดับความเชื่อมั่นว่ามีความปลอดภัยพร้อมจะส่งมอบพื้นที่ให้อุทยานแห่งชาติขุนน่านเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป ท้องฟ้าของบ่อเกลือที่เคยมีเมฆหมอกของทุ่นระเบิดลอยอบอวลอยู่ บัดนี้เมฆหมอกเหล่านั้น ได้ถูกขจัดหมดสิ้นแล้ว วันนี้ท้องฟ้าที่ อ.บ่อเกลือกลับมาสดใสดังเดิม 

ถึงบ่อเกลือเห็นบ่อเกลือเหลือเชื่อนัก 
เอาถังตัก น้ำจากบ่อ..เกลือจริงหรือ? 
มีรสเค็มสมเป็นดั่งคำร่ำลือ 
ยินแต่ชื่อได้มาชมสมฤดี 

ภูเขาสูงทะเลหมอกงดงามนัก 
แต่งานหลักที่เฝ้ารอคือศักดิ์ศรี 
ทุ่นระเบิดร้ายที่ยังเหลือในปฐพี 
ตัวข้าฯ นี้จะเสาะหามาทำลาย 

เขาสูงชันบากบั่นและดั้นด้น 
แม้ทุกข์ทนต้องให้ถึงซึ่งจุดหมาย 
ยอดเขาสูงเสียดฟ้าช่างท้าทาย 
มีความหมายเกินค่ากว่าชีวี 

ฟ้าบ่อเกลือเคยหม่นหมองและร้องให้ 
ด้วยภัยร้ายทุ่นระเบิดที่หลงเหลือ 
แต่วันนี้ ฟ้าใสแล้ว ที่บ่อเกลือ 
ขอให้เชื่อในศรัทธาของข้าฯ เทอญ 


ผู้ร่วมเดินทาง สุดยอด QC ที่บ่อเกลือ

ขอขอบคุณกำลังพลในหน่วยปฎิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรมที่ 4 ที่ปฏิบัติงานด้วยความมานะพยายาม เสียสละและอดทน จนกระทั่งสามารถคืนพื้นที่ปลอดภัยให้ชาว อ.บ่อเกลือได้สำเร็จ ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติขุนน่าน ทหารพราน และชาวบ้านที่ร่วมเป็นสักขีพยานในการเดินทางครั้งนี้ และขอขอบคุณคณะกรรมการ (สุดยอด) QC ของศูนย์ปฎิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ ชุดนี้ทุกคน


******************************************
บทความ : ชาติชาย คเชนชล : 22 ธ.ค.2555
บทกลอน : พัน ภูพ่าย  : 21 ธ.ค.2555

5 พฤศจิกายน 2555

สไลด์การปรับลดพื้นที่ด้วยวิธี land release


การปรับลดพื้นที่ด้วยวิธี land release from Suchart Chantrawong

บรรยายในโอกาสปฐมนิเทศกำลังพลของ TMAC เมื่อ 8 พ.ย.2555 ณ โรงแรมพาวิลเลี่ยน ริมแคว รีสอร์ท อ.เมือง จ.กาญจนบุรี

สไลด์ปฐมนิเทศกำลังพล TMAC


ปฐมนิเทศกำลังพล TMAC from Suchart Chantrawong

สไลด์ของส่วนประสานการปฏิบัติและประเมินผล ปฐมนิเทศกำลังพลของ TMAC ประจำปีงบประมาณ 2556 วันที่ 7-9 พ.ย.2555 ณ โรงแรมพาวิลเลี่ยน ริมแคว รีสอร์ท อ.เมือง จ.กาญจนบุรี

25 ตุลาคม 2555

ข้อมูล แนวทาง และแบบฟอร์มการรายงานต่างๆ ในมาตรฐานการปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ (NMAS)


บทที่
ผนวก
หัวข้อ
บทที่ 1 โครงสร้างองค์กร การจัด และความรับผิดชอบ
ผังการจัดองค์กรดำเนินงานทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมแห่งชาติ (ดาวน์โหลด)
บทที่ 2 – การรับรององค์กรปฏิบัติการทุ่นระเบิด
ขั้นการรับรอง/ รายการตรวจสอบ (ดาวน์โหลด)

รายงานรับรองการฝึก (ดาวน์โหลด)

ประกาศนียบัตรรับรอง(ชั่วคราว)จากการตรวจสอบเอกสารจาก ศทช. (ดาวน์โหลด)

ประกาศนียบัตรรับรองการปฏิบัติการ (ดาวน์โหลด)

ประกาศนียบัตรรับรองการปฏิบัติการเฉพาะ (ดาวน์โหลด)
บทที่ 5 – การจัดการในการปฏิบัติการเก็บกู้ทุ่นระเบิด
กระบวนการจัดการเก็บกู้ทุ่นระเบิด (ดาวน์โหลด)
บทที่ 6 – ระบบการทำเครื่องหมายสำหรับการกวาดล้างทุ่นระเบิด/ สรรพาวุธระเบิดที่ยังไม่ระเบิด
ระบบการทำเครื่องหมายสำหรับพื้นที่ที่ปนเปื้อนทุ่นระเบิด (ดาวน์โหลด)

ระบบการทำเครื่องหมายโดยการใช้ก้อนหินสีแดง/สีขาว (ดาวน์โหลด)
บทที่ 7 – การประเมินการปฏิบัติการทุ่นระเบิดโดยรวมการ
แบบรายงานการระงับภารกิจชั่วคราว (ดาวน์โหลด)
สำรวจ และการทำเครื่องหมายพื้นที่อันตราย
สัญลักษณ์ที่ใช้ในแผนที่ภาพร่าง (ดาวน์โหลด)

ป้าย รั้วและการทำเครื่องหมายแสดงพื้นที่อันตรายและพื้นที่ที่กวาดล้างแล้ว (ดาวน์โหลด)
บทที่ 8 – การเตรียมพื้นที่ปฏิบัติงานและการกำหนดขอบเขต
ตัวอย่างแผนผังจุดธุรการ/ จุดควบคุม (ดาวน์โหลด)
บทที่ 9 – การปรับลดพื้นที่ด้วยวิธี Land Release
แบบรายงานการสำรวจที่ไม่ใช่ทางเทคนิค (ดาวน์โหลด)

อนุผนวก  ก 1
ตารางการให้คะแนนจากผลการสำรวจที่ไม่ใช่ทางเทคนิค (ดาวน์โหลด)  ตัวอย่างการให้คะแนน (ดาวน์โหลด) ตัวอย่างการให้คะแนน (ข้อขัดแย้ง) (ดาวน์โหลด)

แบบรายงานการยกเลิกพื้นที่ (ดาวน์โหลด)

แบบรายงานการเสร็จสิ้นภารกิจปรับลดพื้นที่ (ดาวน์โหลด)

พื้นที่ความเสี่ยงสูงและเขตกันชน (ดาวน์โหลด)

ผลลัพธ์ของการสำรวจที่ไม่ใช่ทางเทคนิคสามารถระบุความต้องการการปฏิบัติการทุ่นระเบิดที่ตามมาได้อย่างไร? (ดาวน์โหลด)
บทที่ 11 – การปฏิบัติโดยใช้เครื่องจักรกล
แบบรายงานประจำสัปดาห์ของเครื่องจักรเก็บกู้ทุ่นระเบิด (ดาวน์โหลด)
บทที่ 12 – การใช้สัตว์ในการตรวจค้นทุ่นระเบิด (MDA)
การรับรองสัตว์ที่ใช้ในการตรวจค้นทุ่นระเบิด (ดาวน์โหลด)

ขั้นตอนการกวาดล้างของชุดสัตว์ตรวจค้นทุ่นระเบิด (ดาวน์โหลด)

สมุดบันทึกของสัตว์ตรวจค้นทุ่นระเบิด (ดาวน์โหลด)
บทที่ 14 – การทำลายสรรพาวุธระเบิด (EOD)
การเลือกพื้นที่ทำลายวัตถุระเบิด (CDS) และขั้นตอนการปฏิบัติ (ดาวน์โหลด)
บทที่ 15 – หนังสือแจ้งผู้ทำการบิน (NOTAM)
แบบหนังสือแจ้งผู้ทำการบิน (NOTAM) (ดาวน์โหลด)
บทที่ 16 – ระเบียบการส่งมอบพื้นที่ที่ถูกปรับลด
ประกาศนียบัตรเพื่อประกาศยืนยันและส่งมอบพื้นที่ (ดาวน์โหลด)
บทที่ 17 – การประเมินค่าหลังการกวาดล้างทุ่นระเบิด (PCA)
แบบรายงานการประเมินค่าหลังการกวาดล้าง (ดาวน์โหลด)
บทที่ 18 – การสนับสนุนทางการแพทย์ต่อปฏิบัติการกวาดล้างทุ่นระเบิด
ตารางการฝึกอบรมทางการแพทย์ (ดาวน์โหลด)

แผนการเคลื่อนย้ายทางการแพทย์ในการปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ (ดาวน์โหลด)
บทที่ 20 – การบริหารจัดการต่อกิจที่ได้รับ
ตัวอย่างปกหน้าและเนื้อหาของเอกสารบันทึกภารกิจ (ดาวน์โหลด)

ตัวอย่างคำสั่งมอบภารกิจ (ดาวน์โหลด)

ตัวอย่างการบรรยายสรุปการปฏิบัติภารกิจ (ดาวน์โหลด)

ตัวอย่างบรรยายสรุปความปลอดภัยของกิจ (ดาวน์โหลด)
บทที่ 23 – การจัดเก็บ การเคลื่อนย้าย และการจับต้องวัตถุระเบิด
การออกใบอนุญาตให้สถานที่จัดเก็บวัตถุระเบิด (ดาวน์โหลด)

อนุผนวก ก 1
ตัวอย่างใบอนุญาตจัดเก็บวัตถุระเบิด (ELL) (ดาวน์โหลด)

ระยะห่างปลอดภัยต่อปริมาณสำหรับสถานที่จัดเก็บวัตถุระเบิด (ดาวน์โหลด)
บทที่ 26 – การแจ้งเตือนและให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายของทุ่นระเบิด (MRE)
แบบรายงานกิจกรรม MRE (ดาวน์โหลด)
บทที่ 28 – การจัดการคุณภาพ (QM)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับการติดตามประกันคุณภาพ QA ภายในขององค์กรปฏิบัติการทุ่นระเบิด (ดาวน์โหลด)
บทที่ 29 – การรายงานและการสอบสวนอุบัติเหตุและเหตุการณ์เกี่ยวกับทุ่นระเบิด/ สรรพาวุธระเบิดที่ยังไม่ระเบิด
แนวทางการสอบสวนอุบัติเหตุและเหตุการณ์เกี่ยวกับทุ่นระเบิด/วัตถุระเบิดตกค้างจากสงคราม (ERW) อย่างเป็นทางการ (ดาวน์โหลด)

แบบรายงานการสอบสวนอุบัติเหตุและเหตุการณ์เกี่ยวกับทุ่นระเบิด/วัตถุระเบิดตกค้างจากสงคราม (ERW) อย่างละเอียด (ดาวน์โหลด)

ตัวอย่าง คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อการสอบสวนอุบัติเหตุ/เหตุการณ์เกี่ยวกับทุ่นระเบิด/ERW อย่างเป็นทางการ และข้อปฏิบัติ (ดาวน์โหลด)
บทที่ 30 – การจัดการข้อมูล (IM)
แผนผังแสดงเส้นทางข้อมูลการปฏิบัติการ (ดาวน์โหลด)

ตัวอย่างแผนรองรับการปฏิบัติการ (ดาวน์โหลด)

แบบรายงานความคืบหน้าประจำสัปดาห์ (ดาวน์โหลด)

แบบรายงานการเสร็จสิ้นภารกิจการทำลายวัตถุระเบิดแบบ Spot Task (ดาวน์โหลด)

แบบรายงานอุบัติเหตุจากทุ่นระเบิด/สรรพาวุธระเบิดที่ยังไม่ระเบิด (ดาวน์โหลด)

แบบรายงานเหตุการณ์จากทุ่นระเบิด/สรรพาวุธระเบิดที่ยังไม่ระเบิด (ดาวน์โหลด)

ที่มา : มาตรฐานการปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ (National Mine Action Standards : NMAS)