25 เมษายน 2555

TMAC จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อมนุษยธรรม

วันที่ 24-25 เม.ย.2555 ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ (TMAC) ได้จัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "การบูรณาการแผนงานปฏิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม" ในพื้นที่หน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรมที่ 1 (นปท.1) ณ โรงแรมอินโดจีน อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว โดยมีพลโทชาตรี ช่างเรียน หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการประชุมฯ 



6 เมษายน 2555

10 ปีที่ผ่านมา พบทุ่นระเบิดตกค้างในไทยกว่า 10,000 ลูก

พื้นที่ซึ่งอาจมีทุ่นระเบิดสังหารบุคคลและทุ่นระเบิดดักรถถังตกค้าง จากผลของสงครามและการสู้รบในอดีตที่ผ่านมา ประมาณ 2,557 ตารางกิโลเมตร ใน 27 จังหวัดของประเทศไทย ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ (TMAC) ได้รายงานสรุปชนิดทุ่นระเบิดที่เคยตรวจพบตั้งแต่ปี 2543 จนถึงสิ้นเดือนธันวาคม พ.ศ.2554 รวมระยะเวลาในการตรวจ 10 ปี พบทุ่นระเบิดแล้ว จำนวน  10,320 ลูก ดังนี้

ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล จำนวน  9,564 ลูก แยกเป็น

5 เมษายน 2555

เครื่องมือกลช่วยกวาดล้างทุ่นระเบิด

การกวาดล้างทุ่นระเบิดนี้ นอกจากจะใช้ คน สุนัข และเครื่องมือตรวจค้น แล้ว ประเทศไทยเรายังได้รับการสนับสนุนเครื่องมือกลช่วยกวาดล้างทุ่นระเบิด จากประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา รวมแล้ว 7 รายการ โดยขณะนี้ได้แบ่งมอบให้ปฏิบัติงานอยู่ที่ภาคเหนือ จ.พะเยา (หน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรมที่ 4 : นปท.4) จำนวน 3 รายการ (Peco Cutter, Beaver, Duck) และภาคตะวันออก จ.สระแก้ว (หน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรมที่ 1) จำนวน 4 รายการ (Tempest, SDTT, BMD-48, Uni Disk) 

สนับสนุนจากประเทศแคนาดาจำนวน 1 รายการ 


 BDM-48 

Miss Landmine - นางงามทุ่นระเบิด

ผมไม่เคยทราบมาก่อนเลยว่าในหลายประเทศเขามีการจัดประกวด "Miss Landmine" หรือ "นางงามทุ่นระเบิด" กันด้วย พอเข้ามาทำงานใน TMAC แห่งนี้ จำเป็นต้องค้นหาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับทุ่นระเบิดและผลกระทบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เลยได้ไปพบเรื่องราวของนางงามทุ่นระเบิดนี้ เลยนำมาเล่าสู่กันฟัง 

การประกวดนางงามทุ่นระเบิดนี้ มีวัตถุประสงค์ก็เพื่อให้ผู้หญิงที่ต้องประสบภัยจากกับระเบิดหรือทุ่นระเบิด จนทำให้พิการขาแขนขาด ได้มีสิทธิเทียบเท่ากับผู้หญิงโดยปกติทั่วไป ในด้านความสวยความงาม สามารถยืนอยู่ในสังคมได้อย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี  ไม่ได้เป็นแค่เพียงหญิงผู้พิการอีกต่อไป
 "คนพิการก็สวยได้"  ซึ่งสนับสนุนแนวคิดของสิทธิสตรีสากล ในประเทศที่ผู้หญิงที่ต้องขาแขนขาดจากผลกระทบของทุ่นระเบิด  จึงมักจะจัดให้มีการประกวดนางงามทุ่นระเบิดนี้ขึ้น ที่พอสืบค้นได้จากเว็บไซต์ ตอนนี้ก็มีประเทศกัมพูชา (Cambodia) และประเทศแองโกล่า (Angola) เป็นต้น 



4 เมษายน 2555

ระเบิดยังไม่หมด โผล่ที่ตาพระยา

จากการที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมลงนามอนุสัญญาออตตาวา เพื่อกวาดล้างและทำลายทุ่นระเบิดให้หมดไปจากพื้นที่ประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 เป็นต้นมา โดยหน่วยปฏิบัติงานหลักก็คือ ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ (TMAC) ถึงแม้ว่าจะสามารถเก็บกู้และทำลายไปได้จำนวนมากก็ตาม แต่จนถึงวันนี้ก็ยังคงมีพื้นที่อันตรายอยู่ และเมื่อวันที่ 29 มี.ค.2555 ที่ผ่านมา TMAC ได้รับรายงานว่า ยังมีราษฎรได้รับอันตรายจากทุ่นระเบิดที่ อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว


พื้นที่ที่ได้รับรายงานอยู่บริเวณ พิกัด 48P TA 027220-154990 บริเวณ บ.ร่มไทร ต.ทัพเสด็จ อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว โดย เมื่อวันที่ 29 มี.ค.2555 เวลาประมาณ 11:10 น. นางนาเรด  นาค อายุ 58 ปี อาชีพทำนา ได้เข้าไปปฏิบัติภารกิจส่วนตัว (ปลดทุกข์) โดยใช้จอบขุดหลุม และได้กระทบกับระเบิดสังหารบุคคล (Anti-personnel Mines) เป็นผลให้กระดูกข้อต่อเข่าซ้ายท่อนบนและล่างแตก มีแผลตาม และสะโพก บริเวณตาขวาโดนสะเก็ดระเบิด ได้รับช่วยเหลือจากบุคคลใกล้เคียง นำส่ง รพ.ตาพระยา และส่งต่อไปยัง รพ.สมเด็จพระยุพราชสระแก้ว ตอนนี้อาการปลอดภัยแล้ว แพทย์แจ้งว่าบริเวณขาด้านซ้ายที่บาดเจ็บ จะใช้เหล็กดามกระดูกไว้ และรักษาบาดแผลภายนอก ส่วนบริเวณตา สะเก็ดระเบิดไม่ได้เข้าไปในดวงตา จึงไม่เป็นอันตรายแต่อย่าง

3 เมษายน 2555

4 เมษายน "วันทุ่นระเบิดสากล" -Lend your leg (ขอยืมขาของคุณหน่อยนะ)

Lend your leg
"ขอยืมขาคุณหน่อยนะ"  เพื่อสันติภาพของโลกให้ปราศจากทุ่นระเบิด

วันที่ 4 เมษายนของทุกปีเป็นวันทุ่นระเบิดสากล ในปี พ.ศ.2555 นี้องค์การสากลรณรงค์เพื่อยุติกับระเบิด (International Campaign to Ban Landmines -ICBL ) ร่วมกับ United Nations Mine Action Service (UNMAS) และ องค์กรต่าง ๆ เช่น UNDP, UNICEF, UNHCR ได้จัดกิจกรรมรณรงค์ "Lend Your Leg" หรือ "ขอยืมขาคุณหน่อยนะ"  เพื่อให้ทั่วโลกตระหนักถึงปัญหาทุ่นระเบิด

ในส่วนของประเทศไทย เครือข่ายประเทศไทยเพื่อการลดอาวุธด้านมนุษยธรรมและองค์กรเครือข่าย ได้แก่ APOPO, Catholic Office for Emergency Relief and Refugees (COERR), Jesuit Refugee Services Asia Pacific (JRSAP), Nonviolence International (NI), Norwegian People’s Aid Thailand (NPA Thailand), Peace Road Organization Foundation (PRO), Thai Civilian Deminers Association (TDA) ได้ร่วมกับจัดการรณรงค์ในประเทศไทย

2 เมษายน 2555

นิยามศัพท์ภาษาอังกฤษที่ควรรู้ใน TMAC

ที่มาของภาพ
http://sspaciss.ee.duke.edu/uxo.php
วันนี้ (2 เม.ย.2555) เป็นวันแรกที่ผมเริ่มเข้ามาทำงานที่ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ (TMAC) อย่างเป็นทางการโดยมาประจำที่ "ส่วนประสานการปฏิบัติและประเมินผล"   (Coordination and  Evaluation Division) ซึ่งมีหน้าที่วางแผน อำนวยการ ประสานงาน กำกับดูแลและดำเนินการปฏิบัติการทุ่นระเบิดเกี่ยวกับ การแจ้งเตือน การให้ความรู้ การสำรวจ การตรวจค้น และการทำลายทุ่นระเบิด และการประเมินผลการปฏิบัติ 

พอมาถึงฟังศัพท์แสงภาษาอังกฤษที่บุคลากรในหน่วยงานนี้ใช้สนทนากันเกี่ยวกับงาน ไม่ค่อยเข้าใจนัก ผมจึงเริ่มหารายละเอียดต่างๆ มานั่งศึกษาดูว่า คำนิยามศัพท์ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับทุ่นระเบิด และลักษณะการปฏิบัติงานว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งไม่ได้เป็นความลับใดๆ เพราะเป็นมาตรฐานสากลที่เขาใช้เรียกกัน ผมเลือกเอาเฉพาะบางคำเท่านั้นมาบันทึกเอาไว้เพื่อเป็นความรู้แก่ท่านผู้อ่านทั่วไป และป้องกันการลืมของตัวผมเองไว้อีกทางหนึ่งด้วย