ภายใน กอ.รมน.บริเวณสวนรื่นฤดี มีศาลศักดิ์สิทธิ์ จำนวน 2 ศาล คือ ศาลที่มีมาแต่ตั้งเดิมขณะเป็นพระตำหนักสวนรื่นฤดี คือ ศาลท่านท้าวกุเวรธิราช (ศาลเจ้าพ่อหนูเผือก) และอีกศาลสร้างขึ้นภายหลัง คือ ศาลท้าววสุเทพเทพารักษ์ ทั้งสองศาลเป็นที่เคารพสักการะของผู้ที่ทำงาน ภายใน กอ.รมน. โดยมีความเชื่อว่า หากบูชาแล้วจะมีความร่มเย็นเป็นสุข ได้เลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่งที่สูงขึ้น ส่วนบุคคลทั่วไป ก็มักจะมาบนบานศาลกล่าวเพื่อให้สอบบรรจุเขารับราชการหรือเข้าทำงานตำแหน่งต่างๆ ได้
![]() |
ด้านหน้า คือ ศาลวสุเทพเทพารักษ์
ด้านหลัง คือ ศาลท่านท้าวกุเวรธิราช (ศาลเจ้าพ่อหนูเผือก)
|
ศาลท่านท้าวกุเวรธิราช (ศาลเจ้าพ่อหนูเผือก)
ประวัติความเป็นมากล่าวว่า แต่เดิมศาลท่านท้าวกุเวรธิราช หรือเจ้าพ่อหนูเผือก ไม่ได้ตั้งอยู่ที่สวนรื่นฤดีแห่งนี้ เป็นศาลขนาดใหญ่ที่มีผู้คนเคารพสักการะจำนวนมาก ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โดยตั้งอยู่ที่บริเวณ "บ้านนรสิงห์" ซึ่งปัจจุบันคือ ทำเนียบรัฐบาล
บ้านนรสิงห์
ทำเนียบรัฐบาล เดิมชื่อ “บ้านนรสิงห์” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแก่ พลเอก พลเรือเอก มหาเสวกเอก จางวางเอก เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) ผู้เคยดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการมหาดเล็ก และผู้บัญชาการกรมมหรสพ ทั้งยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ถวายงานใกล้ชิด โปรดให้เป็นหัวหน้าห้องพระบรรทม นั่งร่วมโต๊ะเสวย ทั้งมื้อกลางวัน และกลางคืน ตลอดรัชกาล และตามเสด็จโดยลำพัง เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย
ทำเนียบรัฐบาล เดิมชื่อ “บ้านนรสิงห์” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแก่ พลเอก พลเรือเอก มหาเสวกเอก จางวางเอก เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) ผู้เคยดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการมหาดเล็ก และผู้บัญชาการกรมมหรสพ ทั้งยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ถวายงานใกล้ชิด โปรดให้เป็นหัวหน้าห้องพระบรรทม นั่งร่วมโต๊ะเสวย ทั้งมื้อกลางวัน และกลางคืน ตลอดรัชกาล และตามเสด็จโดยลำพัง เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย
ชื่อบ้านนรสิงห์ ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่า เป็นชื่อพระราชทานหรือเจ้าของบ้านตั้งขึ้นเอง คาดว่าเนื่องจากเจ้าพระยารามราฆพ เคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมมหรสพ ซึ่งมีตราเป็นรูปนรสิงห์ อันเป็นปางหนึ่งของพระนารายณ์อวตารลงมาปราบยักษ์หิรัณยกศิปุ แต่เดิม เคยมีรูปปั้นนรสิงห์เต็มตัว ตั้งอยู่กลางสนามหญ้าหน้าตึกไกรสร (ตึกไทยคู่ฟ้า) ปัจจุบันไม่ทราบว่าเคลื่อนย้ายไปอยู่ที่ใด
![]() |
บ้านนรสิงห์ ปัจจุบัน คือ ทำเนียบรัฐบาล |
ต่อมาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2484 เจ้าพระยารามราฆพ เจ้าของบ้าน ได้มีหนังสือถึง นายปรีดี พนมยงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อเสนอขายบ้านนรสิงห์ให้แก่รัฐบาล ในราคา 2,000,000 บาท เพราะเห็นว่าใหญ่โตเกินฐานะ และเสียค่าบำรุงรักษาสูง แต่กระทรวงการคลังปฏิเสธไม่ซื้อ แต่หลักฐานบางแห่งระบุว่า จริงๆ แล้ว เจ้าพระยารามราฆพ มิได้อยากขายบ้านนรสิงห์ รัฐบาลอยากได้บ้านนรสิงห์ไว้เป็นที่ทำการรัฐบาลและรับแขกบ้านแขกเมือง จึงบังคับให้ เจ้าพระยารามราฆพขาย โดยรัฐบาลอ้างเหตุผลว่ากลัวทหารญี่ปุ่นจะมาขอเช่าเป็นกองบัญชาการเพื่อทำสงครามมหาเอเซียบูรพา (ทัั้งๆ ที่ขณะนั้น ญี่ปุ่นยังไม่ยกพลขึ้นบกในประเทศไทย แต่อย่างใด)
จนกระทั่งต่อมาถึงเดือนกันยายน พ.ศ.2484 ปีเดียวกัน จอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เห็นควรให้รัฐบาลไทยซื้อบ้านนรสิงห์ไว้ เพื่อเป็นสถานที่รับรองแขกเมือง ในที่สุด จึงได้ตกลงซื้อขายกันในราคา 1,000,000 บาท โดยจ่ายเงินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ให้แก่เจ้าพระยารามราฆพ แล้วมอบบ้านนรสิงห์ให้สำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ดูแล โดยให้ใช้เป็นที่ตั้งทำเนียบรัฐบาล และเป็นสถานที่รับรองแขกบ้านแขกเมือง ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ย้ายศาลเจ้าพ่อหนูเผือกมาตำหนักสวนรื่นฤดี
พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ซึ่งเป็นพระวรราชเทวีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เคยประทับอยู่ที่ "บ้านนรสิงห์" ตอนพระองค์ฯ ท่าน ทรงถวายงานในกรมมหรสพ อนุมานได้ว่าหลังจากที่ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี สร้างพระตำหนักสวนรื่นฤดีเสร็จแล้ว เมื่อ พ.ศ.2477 และต่อมาทรงทราบเรื่องว่า บ้านนรสิงห์ ถูกขายให้รัฐบาล ในปี พ.ศ.2484 พระนางเจ้าสุวัทนาฯ จึงได้โปรดอัญเชิญให้ย้าย ศาลท่านท้าวกุเวรธิราช (ศาลเจ้าพ่อหนูเผือก) จากบ้านนรสิงห์ มาประดิษฐานไว้ที่พระตำหนักสวนรื่นฤดี ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ดังประวัติสังเขป ที่จารึกไว้ด้านหลังศาล
ศาลวสุเทพเทพารักษ์
![]() |
ประวัติ ศาลท่านท้าวกุเวรธิราช (ศาลเจ้าพ่อหนูเผือก) ที่จารึกไว้ด้านหลังศาล บูรณะครั้งสุดท้าย 10 ก.ย.2550 |
ศาลท้าววสุเทพเทพารักษ์ เป็นศาลที่เปรียบเสมือนเจ้าที่ผู้ดูแล ปกป้อง และคุ้มครองบริเวณสวนรื่นฤดี คำว่า เทพารักษ์ หมายถึง เทวดาที่ดูแลรักษาที่แห่งใดแห่งหนึ่ง หากเทวดานั้นอาศัยอยู่ตามต้นไม้ใหญ่ จะเรียกว่า รุกขเทวดา หากเทวดานั้น อาศัยอยู่ตามบ้านเรือนจะเรียกว่า "พระภูมิ"
![]() |
ศาลวสุเทพเทพารักษ์ |
ท่านใดประสงค์ที่จะมาไหว้บูชา เคารพสักการะ และขอพร สามารถมาได้ในเวลาราชการ ดอกไม้ ธูปเทียน มีให้บริการที่บริเวณศาล
คำอธิฐานบูชา ท่านท้าวกุเวรธิราช
อิติสุขะโต อะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ ปะฐะวีคงคา ท่านท้าวกุเวรธิราช นะมามิหัง
คำอธิฐานบูชา ท่านท้าววสุเทพเทพารักษ์
อิติสุขะโต อะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ ปะฐะวีคงคา ท่านท้าววสุเทพเทพารักษ์ นะมามิหัง
*******************************
ที่มาข้อมูล
![]() |
ป้าแดง เจ้าหน้าที่ที่คอยให้บริการ ดอกไม้ ธูปเทียน |
อิติสุขะโต อะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ ปะฐะวีคงคา ท่านท้าวกุเวรธิราช นะมามิหัง
คำอธิฐานบูชา ท่านท้าววสุเทพเทพารักษ์
อิติสุขะโต อะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ ปะฐะวีคงคา ท่านท้าววสุเทพเทพารักษ์ นะมามิหัง
*******************************
ที่มาข้อมูล
- https://th.wikipedia.org/wiki/พระนางเจ้าสุวัทนา_พระวรราชเทวี
- https://th.wikipedia.org/wiki/ทำเนียบรัฐบาลไทย
- https://th.wikipedia.org/wiki/เทพารักษ์
- https://www.silpa-mag.com/club/miscellaneous/article_7714