ซากของไม้พะยูงที่ถูกตัดทิ้งไว้ |
เมื่อวันที่ 27 ก.พ.2557 ผมและคณะได้เดินทางไปตรวจสอบพื้นที่ปลอดภัยจากทุ่นระเบิดที่บริเวณผืนป่า ต.บักดอง อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ ขณะที่เดินตรวจพื้นที่ผมพบกับซากของไม้พะยูงที่ถูกตัดทิ้งไว้เป็นจำนวนมาก เจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่าพนมดงรักที่ร่วมเดินทางด้วย เล่าให้ฟังว่า เดี๋ยวนี้เขาเรียกไม้พะยูงว่า "ทองคำเขียว"
ความเชื่อในไม้พะยูง
- เชื่อว่าพยุงไม่ให้ชีวิตตกต่ำ “พะยูง” เป็นไม้เนื้อแข็ง มีความเชื่อว่าบ้านใดปลูกไว้ประจำบ้าน จะทำใ้ห้บุคคลในบ้านมีแต่ความเจริญ มีฐานะดีขึ้น ช่วยไม่ให้ชีวิตตกต่ำ เพราะพยุงคือการประคับประคองให้คงอยู่ ให้มั่นคงหรือการยกให้สูงขึ้น
- เป็นไม้มงคล 9 ชนิด คนไทยจัด ลำดับ ” พะยูง” ให้อยู่ใน 9 ชนิดไม้มงคลที่ควรปลูกไว้ในบ้าน ซึ่งประกอบด้วย ชัยพฤกษ์, ราชพฤกษ์, ทองหลวง, ไผ่สีสุก, กันเกรา, ทรงบาดาล, สัก, พะยูง และ ขนุน
แต่ก่อนไม้พะยูงไม่ค่อยมีใครสนใจมากนัก จนกระทั่งเมื่อมีการนำเข้าไม้พะยูงไปปรับปรุงซ่อมแซมพระราชวังต้องห้ามต่างๆ ของประเทศจีนในช่วงการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เมื่อปี พ.ศ.2551 เนื่องจากเชื่อว่าเป็นไม้มงคล มีความสวยงามด้วยเนื้อไม้สีแดงสด ยิ่งเปียกน้ำยิ่งสวย นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ราคาไม้พะยูงจึงพุ่งสูงขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ
ต่อมา ผู้มีฐานะจึงมีความนิยมคล้อยตามนำไม้พะยูงไปสร้างบ้านและแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ประดับบ้าน เครื่องเรือน เครื่องใช้ เครื่องดนตรี เพราะเชื่อว่าจะผู้ที่มีอำนาจบารมีเท่านั้นจะได้ครอบครองไม้พะยูง จนกระทั่งมีการพัฒนาต่อยอดแกะสลักเป็นวัตถุมงคล เช่น ปี่เซียะ เทพเจ้า ฮก ลก ซิ่ว ฯลฯ ในเวลาต่อมา
ไม่มีบารมีจริงครอบครองไม้พะยูงไม่ได้
เจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าฯ เล่าประสบการณ์เพิ่มเติมว่า "ผมเห็นคนที่เอาไม้พะยูงไปปลูกบ้าน มักมีอันเป็นไปเกือบทุกคน เพราะหากคนที่ไม่มีบารมีจริง จะไม่สามารถครอบครองไม้พะยูงได้"
ต่อมา ผู้มีฐานะจึงมีความนิยมคล้อยตามนำไม้พะยูงไปสร้างบ้านและแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ประดับบ้าน เครื่องเรือน เครื่องใช้ เครื่องดนตรี เพราะเชื่อว่าจะผู้ที่มีอำนาจบารมีเท่านั้นจะได้ครอบครองไม้พะยูง จนกระทั่งมีการพัฒนาต่อยอดแกะสลักเป็นวัตถุมงคล เช่น ปี่เซียะ เทพเจ้า ฮก ลก ซิ่ว ฯลฯ ในเวลาต่อมา
ไม่มีบารมีจริงครอบครองไม้พะยูงไม่ได้
เจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าฯ เล่าประสบการณ์เพิ่มเติมว่า "ผมเห็นคนที่เอาไม้พะยูงไปปลูกบ้าน มักมีอันเป็นไปเกือบทุกคน เพราะหากคนที่ไม่มีบารมีจริง จะไม่สามารถครอบครองไม้พะยูงได้"
เดี๋ยวนี้ ตอไม้พะยูงก็เอา ตอนี้ตีราคาแล้วขายได้ 100,000 บาท |
เจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก เล่าต่อว่า วันนี้ไม้พะยูงได้รับการขนานนามว่า "ทองคำเขียว" หรือ "อัญมณีต้น" เนื่องจากมีราคาแพงมาก การลักลอบตัดไม้พะยูง จึงมีความคุ้มค่าที่จะเสี่ยง เดี๋ยวนี้ขายกันเป็นกิโลกรัม ขายต้นน้ำกิโลกรัมละ 30-35 บาท พอไปถึงปลายน้ำ ราคาพุ่งสูงถึงกิโลกรัมละ 800-850 บาท ด้วยเหตุนี้กระบวนการลักลอบตัดไม้พะยูงจึงมีความคุ้มค่าที่จะเสี่ยงต่อการกระทำผิด และปัจจุบันมีการพัฒนารูปแบบวิธีการขนย้ายหลากหลายมากขึ้น จนเจ้าหน้าที่ยากจะตรวจสอบและจับกุม
ในปัจจุบันไม้พะยูงถือว่าเหลือเฉพาะในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวในโลก ซึ่งยังเป็นแหล่งไม้พะยูงที่สมบูรณ์ บรรดาประเทศลาว ประเทศกัมพูชาและประเทศเวียดนาม ที่เคยมีก็หมดไปแล้วเช่นกัน ที่เหลืออยู่บ้างมีจำนวนน้อย เพราะสามารถควบคุมปราบปราบในส่วนที่เหลือได้
ไม้พะยูงที่เหลืออยู่ในผืนป่าของประเทศไทยในขณะนี้ ถือว่าเป็น "ทองคำเขียวแห่งสยามประเทศ" เพราะบางต้นมีอายุตั้งแต่คราวที่ประเทศไทยยังใช้ชื่อประเทศสยามอยู่เลย ดังนั้นพวกเราควรหันมาช่วยกันปกป้องและรักษามันไว้ หันมาเอาจริงเอาจังกับการปราบปรามกระบวนการลักลอบตัดไม้พะยูงนี่เสียที
วอนไปยังรัฐบาล นักการเมือง ผู้มีอิทธิพล ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ทุกกระทรวงทบวงกรมที่เกี่ยวข้อง อย่าปากว่าตาขยิบ หลับตาข้างเดียว รับสินบาทคาดสินบน ทำเป็นมองไม่เห็นปัญหาเหล่านี้อีกต่อไป หันมาช่วยกันรีบแก้ไข ก่อนที่สยามประเทศจะไม่มีไม้พะยูงให้ได้เชยชม
************************************
ชาติชยา ศึกษิต : 4 มี.ค.2557
อ้างอิง
ท่อนในมือผมนี้ น่าจะขายที่ปลายน้ำได้ประมาณ 2,400 บาท (ประมาณ 3 กิโลกรัม) จากราคาที่ซื้อต้นน้ำ เพียง 90 บาท |
ไม้พะยูงที่เหลืออยู่ในผืนป่าของประเทศไทยในขณะนี้ ถือว่าเป็น "ทองคำเขียวแห่งสยามประเทศ" เพราะบางต้นมีอายุตั้งแต่คราวที่ประเทศไทยยังใช้ชื่อประเทศสยามอยู่เลย ดังนั้นพวกเราควรหันมาช่วยกันปกป้องและรักษามันไว้ หันมาเอาจริงเอาจังกับการปราบปรามกระบวนการลักลอบตัดไม้พะยูงนี่เสียที
วอนไปยังรัฐบาล นักการเมือง ผู้มีอิทธิพล ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ทุกกระทรวงทบวงกรมที่เกี่ยวข้อง อย่าปากว่าตาขยิบ หลับตาข้างเดียว รับสินบาทคาดสินบน ทำเป็นมองไม่เห็นปัญหาเหล่านี้อีกต่อไป หันมาช่วยกันรีบแก้ไข ก่อนที่สยามประเทศจะไม่มีไม้พะยูงให้ได้เชยชม
ของกลาง(เพียงบางส่วน) ที่ยึดได้ ยังไม่รู้ว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร หากจะประมูล ใครจะมาประมูล ยังเป็นปัญหาอยู่ หากผู้ประมูลจะเอาไปขายต่อ จะผิดกฏหมายหรือไม่ |
************************************
ชาติชยา ศึกษิต : 4 มี.ค.2557
อ้างอิง
- สาระน่ารู้. (2556). ไม้พะยูงใช้ทําอะไร ทำไมถึงมีราคาแพงมาก. http://www.สาระน่ารู้ดีดี.com [2557 มี.ค.3]
- เดลินิวส์. (2556). วิกฤติ..ไม้พะยูงผืนป่าตะวันออก ตัวการใหญ่คือใคร? ปราบอย่างไรก็ไม่หมด!. http://www.dailynews.co.th [2557 มี.ค.3]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น