ผมเริ่มมาทำงานที่ TMAC ตั้งแต่วันที่ 15 มี.ค.2555 ในตำแหน่ง ประจำศูนย์ฯ ฝึกฝนวิชาอยู่ 6 เดือนต่อมาผมจึงได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็น "หัวหน้าส่วนประสานการปฏิบัติและประเมินผล" ในวันที่ 1 ต.ค.2555 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน รวมระยะเวลาปฎิบัติงานที่นี่เเล้วประมาณ 3 ปีครึ่ง
กำลังพลที่ปฏิบัติงาน ณ TMAC นี้ เป็นการช่วยราชการแบบปีต่อปี (ตามปีงบประมาณ) ดังนั้นเมื่อใกล้ถึงปีงบประมาณใหม่ ประมาณต้นเดือน ส.ค. ของทุกปี ผู้บังคับบัญชาระดับบริหาร ก็จะมีการพิจารณาประเมินกันใหม่ว่า "ใครควรอยู่ ใครควรกลับ และใครควรมา" โดยส่วนใหญ่ที่ผ่านมาจะมีขั้นตอนการดำเนินการที่สำคัญ ดังนี้
- กำลังพลเดิมที่ประสงค์จะอยู่ปฏิบัติงานต่อ ให้เขียนใบสมัครไว้
- กำลังพลที่ไม่ประสงค์อยู่ต่อก็ถือว่าจบภารกิจ แล้วเปิดตำแหน่งนั้นๆ เพื่อบรรจุคนใหม่
- กำลังพลที่สมัครอยู่ต่อตามข้อ 1 จะถูกพิจารณาแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
- กำลังพลที่มีความรู้ความสามารถในการทำงาน มีความประพฤติดี และหน่วยต้นสังกัดยินยอม จะได้อยู่ต่อและเตรียมวางแผนปฏิบัติงานในปีต่อไป
- กำลังพลที่ขาดความรู้ความสามารถในการทำงานหรือมีความประพฤติไม่ดี พวกนี้ก็จะส่งคืนหน่วยต้นสังกัดไป
- หลังจากนั้นจึงเปิดรับสมัครกำลังพลใหม่จากทุกหน่วย (โดยการสมัคร) ดำเนินการคัดเลือกตามคุณสมบัติที่ต้องการแล้วพิจารณาบรรจุลงในตำแหน่งที่ว่างจากข้อ 2 และ 3/2
- TMAC ทำเรื่องขอตัวผู้ที่จะบรรจุใหม่ ทั้งหมดไปยังหน่วยต้นสังกัด
- หากหน่วยต้นสังกัดตอบมาไม่ขัดข้องก็สามารถบรรจุเพื่อทำงานในปีต่อไปได้เลย
เหตุผลที่ต้องดำเนินการเช่นนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อให้เป็นหลักประกันว่า "ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ ต้องสามารถปฏิบัติงานด้านทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมได้อย่างต่อเนื่องอย่างมืออาชีพ ถึงแม้จะมีการสับเปลี่ยนกำลังพลก็ตาม กำลังพลเก่าต้องมีห้วงที่จะเวลาถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กำลังพลใหม่ ก่อนที่จะมีการสับเปลี่ยนกำลังพลในปีต่อไป"
ปีนี้...ผมเองก็คงเอาตัวไม่รอด
การบรรจุกำลังพลใหม่ปีงบประมาณ 2559 ที่จะถึงนี้ (ตั้งแต่ 1 ต.ค.2558 เป็นต้นไป) มีนโยบายใหม่จากผู้บริหาร โดย TMAC ได้ออกประกาศรับสมัครกำลังพลที่จะบรรจุใหม่แบบโอเพ่นจากทุกเหล่าทัพ (กองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ) เพื่อมุ่งหวังจะได้คนที่มี่ประสิทธิภาพมาปฏิบัติงาน
ส่วนกำลังพลที่ปฏิบัติงานใน TMAC ณ ปัจจุบัน หากใครอยากอยู่ต่อ ให้กลับไปเขียนใบสมัครที่หน่วยต้นสังกัดของตนเอง แล้วให้หน่วยต้นสังกัดพิจารณาคัดกรองส่งรายชื่อมา ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติจะเป็นผู้พิจารณาขั้นสุดท้ายเอง โดยไม่มีการจำกัดโควต้า นอกจากนั้นทุกคนที่เขียนใบสมัครจะต้องระบุด้วยว่า จะสมัครปฏิบัติงานในตำแหน่งใด ของ TMAC
ยกตัวอย่าง...
ผมเอง ตำแหน่งปัจจุบัน หัวหน้าส่วนประสานการปฏิบัติและประเมินผล ปีที่ผ่านมา ผมเขียนใบสมัครที่ TMAC แล้ว TMAC ขอตัวไปยังกองทัพบก กองทัพบกถามไปยังกรมการทหารช่าง หากต้นสังกัดทุกหน่วยไม่ขัดข้อง ผมก็ได้ทำงานต่อที่ TMAC
แต่ปีนี้ ผมจะต้องกลับไปกรอกใบสมัครที่ "กรมการทหารช่าง" จ.ราชบุรี ต้นสังกัดของผม หลังจากนั้น กรมการทหารช่างจะพิจารณาคัดกรองแล้วส่งต่อมายังกองทัพบก ต่อจากนั้น "กองทัพบก" ก็จะพิจารณาคัดเลือกผู้สมัครจากหน่วยต่างๆ จากทั่วกองทัพบก คัดกรองอีกชั้นส่งมายังศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ กระบวนการทั้งหมดนี้ กองทัพบกต้องส่งรายชื่อผู้สมัครที่คัดกรองแล้ว ถึง TMAC ภายใน 31 ส.ค.2558 (เหลือเวลาอีก 21 วัน)
แต่ปีนี้ ผมจะต้องกลับไปกรอกใบสมัครที่ "กรมการทหารช่าง" จ.ราชบุรี ต้นสังกัดของผม หลังจากนั้น กรมการทหารช่างจะพิจารณาคัดกรองแล้วส่งต่อมายังกองทัพบก ต่อจากนั้น "กองทัพบก" ก็จะพิจารณาคัดเลือกผู้สมัครจากหน่วยต่างๆ จากทั่วกองทัพบก คัดกรองอีกชั้นส่งมายังศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ กระบวนการทั้งหมดนี้ กองทัพบกต้องส่งรายชื่อผู้สมัครที่คัดกรองแล้ว ถึง TMAC ภายใน 31 ส.ค.2558 (เหลือเวลาอีก 21 วัน)
"แค่หน่วยกรมการทหารช่าง และกองทัพบก ก็อาจจะไม่ให้ตัวผมมาแล้ว จะไปคาดหวังอะไรกับการแข่งขันจากผู้สมัครทั่วกองทัพไทย แล้วตัวผมเองก็ไม่รู้จะไปวิ่งเต้นเส้นสายกับใครอีกด้วย"
หากมีผู้สมัครตำแหน่ง "หัวหน้าส่วนประสานการปฏิบัติและประเมินผล" สัก 5 คน ถามว่าผู้บริหารจะพิจารณาคัดเลือกอย่างไร?
ผมไม่ได้คิดว่าตนเองเป็นคนเก่งกาจอะไร ใครๆ ก็สามารถทำงานในตำแหน่งนี้ได้ แต่บางตำแหน่งที่ TMAC นี้ ต้องใช้ความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญ บวกกับประสบการณ์ที่สั่งสมมาเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานด้านทุ่นระเบิด การสับเปลี่ยนตำแหน่งโดยไม่มีการถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์ให้แก่กัน นับว่าเป็นเรื่องอันตรายต่อองค์กร
อีกตัวอย่าง...
ลูกน้องมือดีด้านทุ่นระเบิดของผม ปัจจุบัน ตำแหน่งเสมียนตรวจค้นและทำลาย ต้องกลับไปเขียนใบสมัครที่ หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ (นพค.) ซึ่งเป็นหน่วยต้นสังกัดที่ จ.อุบลราชธานี ต้องพยายามให้หน่วยต้นสังกัดคัดกรองให้เสนอชื่อตัวเองขึ้นมาถึงหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา (นทพ.) และหน่วยบัญชาการทหารพัฒนาจะรวบรวมรายชื่อจากหน่วยขึ้นตรงของตัวเองทั้งหมดคัดกรองอีกครั้ง ส่งมาถึงศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ
"แล้วลูกน้องมือดีของผม จะเดินทางมาถึงดวงดาวไหมเนี่ย"
แล้วเราจะทำอย่างไร?
หากเราจะขอลูกสาวใคร มาเป็นสะใภ้ให้ลูกเรา เราต้องมีการดูตัวและจองตัวกันไว้ก่อน แล้วจึงสู่ขอไปทางพ่อตา แต่หากเราให้พ่อตา "พิจารณาส่งลูกสาวมาเอง" เขาอาจจะส่งลูกสาวคนไหนมาก็ได้ เกิดขี้ริ้วขี้เหร่ ไม่ใช่คนที่เราต้องการ และทำงานอะไรไม่เป็นเลย แล้วเราจะทำอย่างไร?
TMAC อาจจะกลายเป็นสูญญากาศไปสักพัก เหมือนมือใหม่หัดขับ
หลังจากตั้งหลักได้แล้ว ก็อาจจะไม่มีประสิทธิภาพเท่าเดิม...
**********************
จุฑาคเชน : 10 ส.ค.2558
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น