วันที่ 23 มิ.ย.2558 หน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรมที่ 2 (นปท.2) ของกองทัพเรือ ตรวจพบสรรพาวุธระเบิดที่ถูกละทิ้ง (Abandoned Explosive Ordnance : AXO) จำนวนกว่า 5,000 รายการ บริเวณเทือกเขาบรรทัด บ.หนองรี ต.ชำราก อ.เมือง จ.ตราด นับเป็นการพบเศษขยะสงครามครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศไทยในรอบ 15 ปีที่ผ่านมา
ตั้งแต่ประเทศไทยเข้าร่วมลงนามในอนุสัญญาห้ามใช้ สะสม ผลิต และโอน และทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคล (อนุสัญญาออตตาวา) เมื่อปี พ.ศ.2542 ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติได้เริ่มค้นหาและเก็บกู้ทุ่นระเบิดสังหารบุคคลในผืนแผ่นดินไทยมาตั้งแต่ปี 2543 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ไม่เคยตรวจพบสรรพาวุธระเบิดที่ถูกละทิ้ง (AXO) มากมายเท่าครั้งนี้ AXO ที่พบ รวมแล้ว 5,299 รายการ ประกอบด้วย
ตั้งแต่ประเทศไทยเข้าร่วมลงนามในอนุสัญญาห้ามใช้ สะสม ผลิต และโอน และทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคล (อนุสัญญาออตตาวา) เมื่อปี พ.ศ.2542 ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติได้เริ่มค้นหาและเก็บกู้ทุ่นระเบิดสังหารบุคคลในผืนแผ่นดินไทยมาตั้งแต่ปี 2543 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ไม่เคยตรวจพบสรรพาวุธระเบิดที่ถูกละทิ้ง (AXO) มากมายเท่าครั้งนี้ AXO ที่พบ รวมแล้ว 5,299 รายการ ประกอบด้วย
- ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล Type 69 ของจีน จำนวน 2,700 ทุ่น
- ลูก ค.ขนาด 61 มม. จำนวน 1,600 ลูก
- ลูก ค.ขนาด 82 มม.จำนวน 582 ลูก
- ลูก ค.ขนาด 100 มม. จำนวน 80 ลูก
- กระสุนปืนไร้แรงสะท้อนท้อยหลัง (ปรส.) ขนาด 75 มม.จำนวน 80 นัด
- หัวกระสุนต่อต้านรถถัง ขนาด 75 มม. จำนวน 14 นัด
- กระสุนต่อต้านรถถัง ขนาด 75 มม.จำนวน 175 นัด
- กระสุนอาก้า-47 (AK-47) จำนวน 30 กล่อง
- ลังบรรจุกระสุน 12.7 จำนวน 70 ลัง
หากเป็นเช่นนี้จริง แสดงว่า AXO เหล่านี้ ถูกกองทับถมอยู่บนผืนแผ่นดินไทยมานานเกือบ 30 ปี หากแต่ไม่มีใครพบ จนกระทั่ง นปท.2 มาตรวจพบในวันที่ 23 มิ.ย.2558
การทำลาย AXO
การทำลาย AXO
การทำลาย AXO ที่พบ จำเป็นต้องใช้ดินระเบิด ชนวน และอุปกรณ์ประกอบการจุดจำนวนมาก เจ้าหน้าที่ EOD ของ นปท.2 เคยประมาณว่าจะต้องใช้ ดินระเบิด TNT จำนวน 1,420 ปอนด์ ฝักแคระเบิด 1,788 ฟุต ฝักแคเวลา 667 ฟุต ตัวจุดชนวน M60 จำนวน 29 ชุด และเชื้อปะทุ จำนวน 29 ดอก ต้องทยอยทำลายรวมแล้ว 29 ครั้ง ฟังแล้วนับเป็นเรื่องที่หนักหนาสาหัสเอาการ เพราะที่กล่าวมาต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก แต่ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติคงไม่มีแน่นอน และหากไม่สามารถทำลายในพื้นที่ที่ตรวจพบได้ ก็มีความเสี่ยงต่อการเคลื่อนย้าย AXO ดังกล่าวมายังพื้นที่ทำลายที่กำหนดไว้
พิพิธภัณฑ์ทุ่นระเบิดแห่งชาติ (ไทย)
ตามพันธกรณีในอนุสัญญาห้ามใช้ สะสม ผลิต และโอน และทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคล (อนุสัญญาออตตาวา) ที่ประเทศไทยได้ลงนามไว้ จะครอบคลุมเฉพาะการทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุุคคล เท่านั้น ส่วนทุ่นระเบิดดักรถถัง และ UXO ไม่จำเป็นต้องทำลายก็ได้ และทุ่นระเบิดสังหารบุคคลดังกล่าวก็สามารถแบ่งบางส่วนไว้ฝึกศึกษาได้ ตามจำนวนที่เหมาะสม
AXO ที่พบดังกล่าว จึงสามารถเก็บไว้เป็นพิพิธภัณฑ์ทุ่นระเบิดได้ คงทำลายเฉพาะ TYPE 69 ที่เป็นทุ่นระเบิดสังหารบุคคล มีคำถามว่า ทำไมต้องเก็บเป็นพิพิธภัณฑ์? ลองอ่านบทความที่ผมเคยเขียนไว้ เรื่อง "พิพิธภัณฑ์ทุ่นระเบิดแห่งชาติ(ไทย) ..ความฝันที่อาจเป็นจริง" (อ่านรายละเอียด) ดูนะครับ ก็จะเข้าใจว่าทำไม
ผมยังยืนยันอยู่ว่า AXO ที่พบควรทำให้ปลอดภัยแล้วเก็บเอาไว้ รอนำมาจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ทุ่นระเบิดแห่งชาติ (ซึ่งไม่รู้จะเกิดขึ้นเมื่อไหร่) แต่ก็ดีกว่าจะทำลายมันทิ้งไป โดยไม่ได้มีนัยสำคัญใดๆ เลย เสียดายครับ....
ตามพันธกรณีในอนุสัญญาห้ามใช้ สะสม ผลิต และโอน และทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคล (อนุสัญญาออตตาวา) ที่ประเทศไทยได้ลงนามไว้ จะครอบคลุมเฉพาะการทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุุคคล เท่านั้น ส่วนทุ่นระเบิดดักรถถัง และ UXO ไม่จำเป็นต้องทำลายก็ได้ และทุ่นระเบิดสังหารบุคคลดังกล่าวก็สามารถแบ่งบางส่วนไว้ฝึกศึกษาได้ ตามจำนวนที่เหมาะสม
AXO ที่พบดังกล่าว จึงสามารถเก็บไว้เป็นพิพิธภัณฑ์ทุ่นระเบิดได้ คงทำลายเฉพาะ TYPE 69 ที่เป็นทุ่นระเบิดสังหารบุคคล มีคำถามว่า ทำไมต้องเก็บเป็นพิพิธภัณฑ์? ลองอ่านบทความที่ผมเคยเขียนไว้ เรื่อง "พิพิธภัณฑ์ทุ่นระเบิดแห่งชาติ(ไทย) ..ความฝันที่อาจเป็นจริง" (อ่านรายละเอียด) ดูนะครับ ก็จะเข้าใจว่าทำไม
ผมยังยืนยันอยู่ว่า AXO ที่พบควรทำให้ปลอดภัยแล้วเก็บเอาไว้ รอนำมาจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ทุ่นระเบิดแห่งชาติ (ซึ่งไม่รู้จะเกิดขึ้นเมื่อไหร่) แต่ก็ดีกว่าจะทำลายมันทิ้งไป โดยไม่ได้มีนัยสำคัญใดๆ เลย เสียดายครับ....
*****************
ชาติชาย คเชนชล : 19 ก.พ.2559
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น