![]() |
ที่มาของภาพ http://sspaciss.ee.duke.edu/uxo.php |
พอมาถึงฟังศัพท์แสงภาษาอังกฤษที่บุคลากรในหน่วยงานนี้ใช้สนทนากันเกี่ยวกับงาน ไม่ค่อยเข้าใจนัก ผมจึงเริ่มหารายละเอียดต่างๆ มานั่งศึกษาดูว่า คำนิยามศัพท์ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับทุ่นระเบิด และลักษณะการปฏิบัติงานว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งไม่ได้เป็นความลับใดๆ เพราะเป็นมาตรฐานสากลที่เขาใช้เรียกกัน ผมเลือกเอาเฉพาะบางคำเท่านั้นมาบันทึกเอาไว้เพื่อเป็นความรู้แก่ท่านผู้อ่านทั่วไป และป้องกันการลืมของตัวผมเองไว้อีกทางหนึ่งด้วย
AXO : Abandoned Explosive Ordnance
สรรพาวุธระเบิดที่ถูกละทิ้ง คือสรรพาวุธระเบิดที่ยังไม่ถูกใช้ระหว่างสถานการณ์ความขัดแย้งที่มีการสู้รบ ซึ่งถูกละทิ้งไว้เบื้องหลังหรือถูกวางทิ้งโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในความขัดแย้งดังกล่าว และต่อมาสรรพาวุธระเบิดนี้ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของฝ่ายนั้นอีกต่อไป สรรพาวุธระเบิดที่ถูกละทิ้งอาจจะหรืออาจจะยังไม่ต่อสายชนวน ยังไม่พร้อมระเบิด หรือยังไม่ได้กระทำการใดเพื่อให้พร้อมใช้งาน
Anti-personnel mines: APM
ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ทุ่นระเบิดที่ออกแบบมาเพื่อให้เกิดการระเบิดเมื่อมีบุคคลเข้าใกล้หรือสัมผัส และจะทำให้บุคคลหนึ่งหรือมากกว่า ทุพพลภาพ บาดเจ็บ หรือเสียชีวิต
Anti-handling device
อุปกรณ์ป้องกันการจับต้องทุ่นระเบิด อุปกรณ์ที่มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันทุ่นระเบิดทุ่นใดๆ โดยมีส่วนที่เชื่อมต่อหรือวางไว้ใต้ทุ่นระเบิด และจะทำงานเมื่อมีความพยายามใดๆ ที่จะกระแทกหรือรบกวนทุ่นระเบิดนั้น
Area reduction
Area reduction
การปรับลดพื้นที่ กระบวนการพื้นที่ที่เดิมถูกระบุว่ามีการปนเปื้อนทุ่นระเบิดถูกลดขนาดเป็นพื้นที่ที่เล็กลง
Confirmed Hazardous Area: CHA
พื้นที่อันตรายที่ได้รับการยืนยัน พื้นที่ที่ได้รับการยืนยันโดยการสำรวจที่ไม่ใช่ทางเทคนิคว่ามีความจำเป็นต้องดำเนินการต่อไปไม่ว่าจะด้วยการสำรวจทางเทคนิคหรือการกวาดล้าง
Cleared Areas
Cleared Areas
คือ พื้นที่ที่ได้ตรวจค้นและทำลายทุ่นระเบิดแล้ว (กวาดล้างแล้ว) โดยชุดสำรวจเข้าไปตรวจแล้วทางกายภาพด้วยวิธีและมาตรฐานเดียวกันที่ใช้กวาดล้างสนามทุ่นระเบิด (Mine Field) รวมถึงบริเวณช่องทางแบ่งเขตหรือช่องทางเข่้าพื้นที่ที่ได้ปรับลดขนาดแล้วและพื้นที่อื่นๆ ด้วย
Control area or point: CP
Control area or point: CP
พื้นที่หรือจุดควบคุม จุดหรือพื้นที่ทั้งหมดที่ใช้เพื่อควบคุมการเข้ามาภายในสถานที่ปฏิบัติงานทำลายทุ่นระเบิดของแขกผู้มาเยือนและเจ้าหน้าที่
Defined Hazardous Area: DHA
พื้นที่อันตรายที่ระบุชัดเจน โดยทั่วไปหมายถึงพื้นที่ที่อยู่ในพื้นที่อันตรายที่ได้รับการยืนยัน (CHA) ซึ่งจำเป็นต้องมีการกวาดล้างเต็มรูปแบบ ปกติการยืนยันว่าเป็นพื้นที่อันตรายที่ระบุชัดเจนจะทำโดยการสำรวจอย่างละเอียด
Explosive Ordnance: EO
สรรพาวุธระเบิด หมายถึง ยุทธภัณฑ์ทั้งปวงที่ประกอบด้วยวัตถุระเบิด วัสดุที่ทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ ฟิวชั่นหรือฟิชชั่น และสารชีวภาพและเคมี ทั้งนี้รวมถึงระเบิดและหัวรบ ขีปนาวุธนำวิถี กระสุนปืนใหญ่ ปืนครก จรวด และกระสุนปืนเล็ก ทุ่นระเบิดทั้งปวง ตอร์ปิโด และระเบิดน้ำลึก ดอกไม้เพลิง ระเบิดพวงและระเบิดดาวกระจาย หัวกระสุน อุปกรณ์ที่ทำงานด้วยวัตถุระเบิดขับเคลื่อน และกลอุปกรณ์ระเบิดด้วยไฟฟ้า วัตถุระเบิดแสวงเครื่อง และวัตถุหรือส่วนประกอบในทำนองเดียวกันหรือเกี่ยวข้องกันที่มีลักษณะเป็นวัตถุระเบิดตามธรรมชาติ
EOD : Explosive Ordnance Disposal
หมายถึง การตรวจค้น การพิสูจน์ทราบ การประเมินค่าในสนาม การนิรภัย การเก็บกู้ และการทำลายสรรพาวุธระเบิดที่ยังไม่ระเบิดในขั้นสุดท้าย นอกจากนี้ยังหมายรวมถึงการนิรภัย และการทำลายสรรพาวุธระเบิดที่มีอันตรายจากการชำรุด หรือเสื่อมสภาพ เมื่อการทำลายสรรพาวุธระเบิดดังกล่าวเกินกว่าขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่ ซึ่งมีความรับผิดชอบในการทำลายตามปกติ
Explosive Remnants of War: ERW
วัตถุระเบิดที่ตกค้างจากสงคราม หมายถึง สรรพาวุธระเบิดที่ยังไม่ระเบิด (UXO) และสรรพาวุธระเบิดที่ถูกละทิ้ง (AXO)
General Mine Action Assessment : GMAA
การประเมินการปฏิบัติการทุ่นระเบิดทั่วไป คือ กระบวนการที่ต่อเนื่องเพื่อให้ทราบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ทุกแห่งที่มีรายงานและ/หรือสงสัยว่ามีการปนเปื้อนของทุ่นระเบิด ปริมาณและประเภทของวัตถุระเบิด และข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะทั่วไปของดินในพื้นที่ พืชพรรณและสภาพภูมิอากาศ และการประเมินขนาดและผลกระทบของปัญหาทุ่นระเบิดและวัตถุระเบิดตกค้างจากสงครามต่อบุคคล ชุมชนและประเทศนั้น
Hazard Areas หรือ Dangerous Areas
คือ พื้นที่อันตราย เป็นพื้นที่ที่พบว่ามีเศษซากและสัญญาณบ่งบอกว่ามีทุ่นระเบิด แม้จะมองไม่เห็นตัวทุ่นระเบิด หรือ UXO ก็ตาม
Humanitarian Mine Action Unit : HMAU
หน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรม (นปท.) หมายถึง หน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดซึ่งประกอบด้วยกำลังพลจากกองทัพบก/กองทัพเรือ ในปัจจุบันของประเทศไทยประกอบด้วย
Information Management System for Mine Action: IMSMA
ระบบจัดการข้อมูลปฏิบัติการทุ่นระเบิด เป็นระบบข้อมูลที่องค์การสหประชาชาติ (UN) นิยมใช้เพื่อการจัดการข้อมูลสำคัญ ในโครงการภาคสนามที่ UN ให้การสนับสนุน IMSMA ช่วยให้ผู้ใช้สามารถรวบรวมข้อมูล จัดเก็บข้อมูล จัดทำรายงาน วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินโครงการ โดยทั่วไปผู้ใช้หลัก คือ เจ้าหน้าที่ของศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดในระดับชาติ อย่างไรก็ตามยังมีการใช้ระบบนี้เพื่อสนับสนุนผู้ดำเนินโครงการเกี่ยวกับทุ่นระเบิดและองค์กรปฏิบัติการทุ่นระเบิดในทุกระดับ
Integrated Area Reduction Survey Project: IARS
โครงการสำรวจเพื่อปรับลดพื้นที่ทุ่นระเบิดแบบบูรณาการ เป็นโครงการที่ดำเนินงานโดยมูลนิธิลุ่มแม่น้ำโขงเพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืน (Mekong Organization for Mankind: MOM) เพื่อสำรวจสนามทุ่นระเบิดบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2550 ถึง เดือนตุลาคม 2552 เพื่อปรับลดพื้นที่ที่เคยระบุว่าเป็นพื้นที่อันตราย
International Mine Action Standards : IMAS
มาตรฐานการปฏิบัติการทุ่นระเบิดสากล คือ เอกสารที่จัดทำโดย UN แทนประชาคมโลก โดยมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการดำเนินการปฏิบัติการทุ่นระเบิด โดยกำหนดหลักการเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติ และในบางกรณีโดยการกำหนดข้อบังคับและเกณฑ์ระหว่างประเทศ
LMP: Locating Minefield Procedure
คือ กระบวนการปรับลดพื้นที่ที่ทราบ หรือสงสัยว่าเป็นพื้นที่ทุ่นระเบิด ที่ระบุไว้การสำรวจข้อมูลของ Landmine Impact Surway : LIS เมื่อปี พ.ศ.2543 อันเป็นผลมาจากการรวบรวมข้อมูลข่าวสารที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับพื้นที่อันตรายเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ได้ทราบพื้นที่ทุ่นระเบิดที่แท้จริง และสามารถปรับลดพื้นที่ได้มากขึ้น
Landmine Impact Survey: LIS
การสำรวจผลกระทบจากทุ่นระเบิด หมายถึง การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจ-สังคมที่เกิดจากการมีอยู่จริงหรือการคิดว่ามีอยู่ของทุ่นระเบิดและวัตถุระเบิดตกค้างจากสงคราม เพื่อช่วยเหลือในการวางแผนและจัดลำดับความเร่งด่วนของโครงการต่างๆ ในการปฏิบัติการทุ่นระเบิด
Land Release
การปรับลดพื้นที่อันตรายแบบ Land Release หมายถึง กระบวนการซึ่งใช้ความพยายามที่สมเหตุสมผลทั้งปวงเพื่อพิสูจน์ หรือระบุพื้นที่อันตรายที่ยืนยันแล้ว และกำจัดข้อสงสัยทั้งหมดเกี่ยวกับการมีอยู่ของทุ่นระเบิด/วัตถุระเบิดตกค้างจากสงคราม โดยใช้การสำรวจที่ไม่ใช่ทางเทคนิค การสำรวจทางเทคนิค และ/หรือการกวาดล้าง
Mine Areas
คือ พื้นที่ซึ่งได้มีการสำรวจทั่วไป (ขั้นที่ 1) แล้ว และมีข้อมูลชัดเจนว่ามีทุ่นระเบิดหรือสรรพาวุธที่ยังไม่ระเบิดตกค้างในพื้นที่
Mine Fields
คือ พื้นที่ทุ่นระเบิดซึ่งได้มีการสำรวจทางเทคนิค (ขั้นที่ 2) แล้ว และได้กำหนดขอบเขตพื้นที่ตั้งของดงทุ่นระเบิดไว้ชัดเจนแล้ว พร้อมทำเครื่องหมายพื้นที่อันตราย ปิดแจ้งเตือนรอบแนวขอบพื้นที่ตั้งของดงระเบิด
Mine Detection Animal(s): MDA
สัตว์ตรวจค้นทุ่นระเบิด หมายถึง สัตว์ที่ได้รับการฝึกและใช้งานในการตรวจค้นทุ่นระเบิด วัตถุระเบิดตกค้างจากสงคราม และวัตถุระเบิดอื่นๆ เช่น สุนัข หรือหนู
Mine risk
คือ การควบคุมคุณภาพ เป็นกระบวนการการตรวจสอบพื้นที่ที่ทำการกวาดล้างแล้ว (Cleared Areas) อย่างละเอียดก่อนที่จะทำการส่งมอบให้ฝ่ายปกครอง หรือจะมีการอนุญาตให้ผู้ที่ได้รับประโยชน์นำที่ดินไปใช้อย่างเป็นทางการ (การปฏิบัติการอาจจะทำการตรวจสอบโดยชุดสุนัขตรวจค้นทุ่นระเบิดในรูปหน้ากระดานและตรวจซ้ำในรูปหน้ากระดานโดยชุดตรวจค้นทุ่นระเบิด)
QA : Quality Assurance
คือ การประกันคุณภาพ เป็นการรับรองและสังเกตุการณ์ทั้งก่อนและระหว่างการปฏิบัติงานเก็บกู้ทุ่นระเบิด เป็นการยืนยันว่ามีการบริหารจัดการและขั้นตอนการปฏิบัติการเก็บกู้ทุ่นระเบิดเป็นไปอย่างเหมาะสม และตรงตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในด้านความปลอดภัย ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
SOP : Standing Operating Procedure หรือ Standard Operating Procedure
คือ ระเบียบปฏิบัติประจำ (รปจ.) เป็นคำแนะนำซึ่งกำหนดวิธีปฏิบัติหน้าที่หรือกิจกรรมที่ควรทำหรือที่ใช้อยู่ปัจจุบัน เพื่อกำหนดระดับของวินัยในการปฏิบัติ ความเป็นเอกภาพ ความสม่ำเสมอและความเหมือนกัน ที่จำแนกและตรวจวัดได้ เพื่อใช้งานภายในหน่วยงาน ด้วยเป้าหมายในการพัฒนาประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการปฏิบติงาน
Safe Areas
พื้นที่ปลอดภัย ซึ่งหมายถึง
พื้นที่ที่ไม่ได้พิสูจน์ทราบ คือพื้นที่ที่ไม่อาจบอกได้ว่าจัดอยู่ในประเภทใด ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่กวาดล้างแล้วหรือพื้นที่อันตราย
UXO : Unexplodes Ordnance
คือ สรรพาวุธทั้งปวง ได้แก่ กระสุนปืน ทุ่นระเบิด ลูกระเบิดขว้าง ลูกระเบิดยิง ลูกระเบิดอากาศ ที่ได้ยิง วาง ขว้าง ทิ้งไป แล้วไม่ระเบิด หรือทำงานตามหน้าที่เนื่องจากการทำงานของกลไกขัดข้อง หรือเจตนาถ่วงเวลาเอาไว้
********************************************
ที่มา :
หมายถึง การตรวจค้น การพิสูจน์ทราบ การประเมินค่าในสนาม การนิรภัย การเก็บกู้ และการทำลายสรรพาวุธระเบิดที่ยังไม่ระเบิดในขั้นสุดท้าย นอกจากนี้ยังหมายรวมถึงการนิรภัย และการทำลายสรรพาวุธระเบิดที่มีอันตรายจากการชำรุด หรือเสื่อมสภาพ เมื่อการทำลายสรรพาวุธระเบิดดังกล่าวเกินกว่าขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่ ซึ่งมีความรับผิดชอบในการทำลายตามปกติ
Explosive Remnants of War: ERW
วัตถุระเบิดที่ตกค้างจากสงคราม หมายถึง สรรพาวุธระเบิดที่ยังไม่ระเบิด (UXO) และสรรพาวุธระเบิดที่ถูกละทิ้ง (AXO)
General Mine Action Assessment : GMAA
การประเมินการปฏิบัติการทุ่นระเบิดทั่วไป คือ กระบวนการที่ต่อเนื่องเพื่อให้ทราบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ทุกแห่งที่มีรายงานและ/หรือสงสัยว่ามีการปนเปื้อนของทุ่นระเบิด ปริมาณและประเภทของวัตถุระเบิด และข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะทั่วไปของดินในพื้นที่ พืชพรรณและสภาพภูมิอากาศ และการประเมินขนาดและผลกระทบของปัญหาทุ่นระเบิดและวัตถุระเบิดตกค้างจากสงครามต่อบุคคล ชุมชนและประเทศนั้น
Hazard Areas หรือ Dangerous Areas
คือ พื้นที่อันตราย เป็นพื้นที่ที่พบว่ามีเศษซากและสัญญาณบ่งบอกว่ามีทุ่นระเบิด แม้จะมองไม่เห็นตัวทุ่นระเบิด หรือ UXO ก็ตาม
Humanitarian Mine Action Unit : HMAU
หน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรม (นปท.) หมายถึง หน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดซึ่งประกอบด้วยกำลังพลจากกองทัพบก/กองทัพเรือ ในปัจจุบันของประเทศไทยประกอบด้วย
- หน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรมที่ 1 (นปท.1) ตั้งอยู่ที่ กองกำลังบูรพา อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว
- หน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรมที่ 2 (นปท.2) ตั้งอยู่ที่บ้านพญากัมพุช อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี
- หน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรมที่ 3 (นปท.3) ตั้งอยู่ที่กองกำลังสุรนารี อ.เมือง จ.สุรินทร์
- หน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรมที่ 4 (นปท.4) ตั้งอยู่ที่กองกำลังขุนผาเมือง อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์
Information Management System for Mine Action: IMSMA
ระบบจัดการข้อมูลปฏิบัติการทุ่นระเบิด เป็นระบบข้อมูลที่องค์การสหประชาชาติ (UN) นิยมใช้เพื่อการจัดการข้อมูลสำคัญ ในโครงการภาคสนามที่ UN ให้การสนับสนุน IMSMA ช่วยให้ผู้ใช้สามารถรวบรวมข้อมูล จัดเก็บข้อมูล จัดทำรายงาน วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินโครงการ โดยทั่วไปผู้ใช้หลัก คือ เจ้าหน้าที่ของศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดในระดับชาติ อย่างไรก็ตามยังมีการใช้ระบบนี้เพื่อสนับสนุนผู้ดำเนินโครงการเกี่ยวกับทุ่นระเบิดและองค์กรปฏิบัติการทุ่นระเบิดในทุกระดับ
Integrated Area Reduction Survey Project: IARS
โครงการสำรวจเพื่อปรับลดพื้นที่ทุ่นระเบิดแบบบูรณาการ เป็นโครงการที่ดำเนินงานโดยมูลนิธิลุ่มแม่น้ำโขงเพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืน (Mekong Organization for Mankind: MOM) เพื่อสำรวจสนามทุ่นระเบิดบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2550 ถึง เดือนตุลาคม 2552 เพื่อปรับลดพื้นที่ที่เคยระบุว่าเป็นพื้นที่อันตราย
International Mine Action Standards : IMAS
มาตรฐานการปฏิบัติการทุ่นระเบิดสากล คือ เอกสารที่จัดทำโดย UN แทนประชาคมโลก โดยมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการดำเนินการปฏิบัติการทุ่นระเบิด โดยกำหนดหลักการเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติ และในบางกรณีโดยการกำหนดข้อบังคับและเกณฑ์ระหว่างประเทศ
LMP: Locating Minefield Procedure
คือ กระบวนการปรับลดพื้นที่ที่ทราบ หรือสงสัยว่าเป็นพื้นที่ทุ่นระเบิด ที่ระบุไว้การสำรวจข้อมูลของ Landmine Impact Surway : LIS เมื่อปี พ.ศ.2543 อันเป็นผลมาจากการรวบรวมข้อมูลข่าวสารที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับพื้นที่อันตรายเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ได้ทราบพื้นที่ทุ่นระเบิดที่แท้จริง และสามารถปรับลดพื้นที่ได้มากขึ้น
Landmine Impact Survey: LIS
การสำรวจผลกระทบจากทุ่นระเบิด หมายถึง การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจ-สังคมที่เกิดจากการมีอยู่จริงหรือการคิดว่ามีอยู่ของทุ่นระเบิดและวัตถุระเบิดตกค้างจากสงคราม เพื่อช่วยเหลือในการวางแผนและจัดลำดับความเร่งด่วนของโครงการต่างๆ ในการปฏิบัติการทุ่นระเบิด
Land Release
การปรับลดพื้นที่อันตรายแบบ Land Release หมายถึง กระบวนการซึ่งใช้ความพยายามที่สมเหตุสมผลทั้งปวงเพื่อพิสูจน์ หรือระบุพื้นที่อันตรายที่ยืนยันแล้ว และกำจัดข้อสงสัยทั้งหมดเกี่ยวกับการมีอยู่ของทุ่นระเบิด/วัตถุระเบิดตกค้างจากสงคราม โดยใช้การสำรวจที่ไม่ใช่ทางเทคนิค การสำรวจทางเทคนิค และ/หรือการกวาดล้าง
Mine Areas
คือ พื้นที่ซึ่งได้มีการสำรวจทั่วไป (ขั้นที่ 1) แล้ว และมีข้อมูลชัดเจนว่ามีทุ่นระเบิดหรือสรรพาวุธที่ยังไม่ระเบิดตกค้างในพื้นที่
Mine Fields
คือ พื้นที่ทุ่นระเบิดซึ่งได้มีการสำรวจทางเทคนิค (ขั้นที่ 2) แล้ว และได้กำหนดขอบเขตพื้นที่ตั้งของดงทุ่นระเบิดไว้ชัดเจนแล้ว พร้อมทำเครื่องหมายพื้นที่อันตราย ปิดแจ้งเตือนรอบแนวขอบพื้นที่ตั้งของดงระเบิด
Mine Detection Animal(s): MDA
สัตว์ตรวจค้นทุ่นระเบิด หมายถึง สัตว์ที่ได้รับการฝึกและใช้งานในการตรวจค้นทุ่นระเบิด วัตถุระเบิดตกค้างจากสงคราม และวัตถุระเบิดอื่นๆ เช่น สุนัข หรือหนู
Mine risk
ความเสี่ยงจากทุ่นระเบิด หมายถึง ความเป็นไปได้และความรุนแรงของการบาดเจ็บทางกายภาพต่อบุคคล ทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากการระเบิดโดยไม่เจตนาของทุ่นระเบิดหรือวัตถุระเบิดตกค้างจากสงคราม
Mine Risk Education : MRE
การแจ้งเตือนและให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายของทุ่นระเบิด คือ กิจกรรมที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดการบาดเจ็บเนื่องจาก ทุ่นระเบิด/วัตถุระเบิดตกค้างจากสงคราม โดยการเพิ่มความตระหนักและส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งมีกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การกระจายข้อมูลสาธารณะ การให้ความรู้และการฝึกอบรม และการประสานงานกับชุมชน
Mine risk reduction
การลดความเสี่ยงจากทุ่นระเบิด คือ การปฏิบัติเพื่อลดความเป็นไปได้ และ/หรือ ความรุนแรงของการบาดเจ็บทางกายภาพต่อบุคคล ทรัพย์สิน หรือสิ่งแวดล้อม การลดความเสี่ยงจากทุ่นระเบิดสามารถทำได้โดยมาตรการทางกายภาพ เช่น การกวาดล้าง การทำรั้ว หรือทำเครื่องหมาย หรือโดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้วยการนำเสนอกิจกรรมการแจ้งเตือนและให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายของทุ่นระเบิด (MRE)
National Mine Action Standards : NMAS
QC : Quality ControlNational Mine Action Standards : NMAS
มาตรฐานการปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ คือ เอกสารซึ่งปกติเขียนโดยหน่วยงานปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ ที่ระบุข้อกำหนด หรือกฎเกณฑ์มาตรฐานทั่วไปอย่างชัดเจน โดยให้นำไปปฏิบัติเพื่อให้แน่ใจว่าทรัพยากร ผลผลิต กระบวนการและการให้การบริการที่ใช้มีความเหมาะสมกับเป้าหมายของประเทศที่ได้รับผลกระทบจาก ทุ่นระเบิดนั้น
คือ การควบคุมคุณภาพ เป็นกระบวนการการตรวจสอบพื้นที่ที่ทำการกวาดล้างแล้ว (Cleared Areas) อย่างละเอียดก่อนที่จะทำการส่งมอบให้ฝ่ายปกครอง หรือจะมีการอนุญาตให้ผู้ที่ได้รับประโยชน์นำที่ดินไปใช้อย่างเป็นทางการ (การปฏิบัติการอาจจะทำการตรวจสอบโดยชุดสุนัขตรวจค้นทุ่นระเบิดในรูปหน้ากระดานและตรวจซ้ำในรูปหน้ากระดานโดยชุดตรวจค้นทุ่นระเบิด)
QA : Quality Assurance
คือ การประกันคุณภาพ เป็นการรับรองและสังเกตุการณ์ทั้งก่อนและระหว่างการปฏิบัติงานเก็บกู้ทุ่นระเบิด เป็นการยืนยันว่ามีการบริหารจัดการและขั้นตอนการปฏิบัติการเก็บกู้ทุ่นระเบิดเป็นไปอย่างเหมาะสม และตรงตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในด้านความปลอดภัย ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
SOP : Standing Operating Procedure หรือ Standard Operating Procedure
คือ ระเบียบปฏิบัติประจำ (รปจ.) เป็นคำแนะนำซึ่งกำหนดวิธีปฏิบัติหน้าที่หรือกิจกรรมที่ควรทำหรือที่ใช้อยู่ปัจจุบัน เพื่อกำหนดระดับของวินัยในการปฏิบัติ ความเป็นเอกภาพ ความสม่ำเสมอและความเหมือนกัน ที่จำแนกและตรวจวัดได้ เพื่อใช้งานภายในหน่วยงาน ด้วยเป้าหมายในการพัฒนาประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการปฏิบติงาน
Safe Areas
พื้นที่ปลอดภัย ซึ่งหมายถึง
- พื้นที่ที่คนท้องถิ่นใช้ประจำ
- พื้นที่ที่ไม่เคยได้รับรายงานเกี่ยวกับอุบัติเหตุจากทุ่นระเบิด และ UXO มาก่อน
- พื้นที่ที่ไม่มีข้อมูลหรือหลักฐานใดๆ บ่งบอกว่ามีทุ่นระเบิดและ UXO หรือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับวัตถุระเบิด
พื้นที่ที่ไม่ได้พิสูจน์ทราบ คือพื้นที่ที่ไม่อาจบอกได้ว่าจัดอยู่ในประเภทใด ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่กวาดล้างแล้วหรือพื้นที่อันตราย
UXO : Unexplodes Ordnance
คือ สรรพาวุธทั้งปวง ได้แก่ กระสุนปืน ทุ่นระเบิด ลูกระเบิดขว้าง ลูกระเบิดยิง ลูกระเบิดอากาศ ที่ได้ยิง วาง ขว้าง ทิ้งไป แล้วไม่ระเบิด หรือทำงานตามหน้าที่เนื่องจากการทำงานของกลไกขัดข้อง หรือเจตนาถ่วงเวลาเอาไว้
********************************************
ที่มา :
- ระเบียบปฏิบัติประจำ ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ (1 ส.ค.2552)
- มาตรฐานการปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ (NMAS)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น