25 เมษายน 2555

TMAC จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อมนุษยธรรม

วันที่ 24-25 เม.ย.2555 ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ (TMAC) ได้จัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "การบูรณาการแผนงานปฏิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม" ในพื้นที่หน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรมที่ 1 (นปท.1) ณ โรงแรมอินโดจีน อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว โดยมีพลโทชาตรี ช่างเรียน หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการประชุมฯ 




ผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้มีจำนวนกว่าร้อยคน ประกอบไปด้วย 5 กลุ่มหลัก คือ 
  • ผู้แทนจากหน่วยราชการและองค์การส่วนกลาง ได้แก่ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย, กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ,คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ,สถาบันแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ 
  • ผู้แทนจากมูลนิธิและ NGO ได้แก่ มูลนิธิถนนแห่งสันติภาพ PRO , APOPO, มูลนิธิพลเอกชาติชาย ชุณหวัณ, สมาคมผู้เก็บกู้ทุ่นระเบิดพลเรือนไทย(TDA),องค์กรความช่วยเหลือแห่งชาวนอร์เวย์(NPA),โคเออร์ 
  • ผู้แทนหน่วยราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของ จ.สระแก้ว ได้แก่ ผู้แทนผู้ว่าราชการจังหวัด ,อุตสาหกรรมจังหวัด,พัฒนาสังคมและความั่นคงจังหวัด, พาณิชย์จังหวัด, ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด,สาธารณสุขจังหวัด, ตำวจภูธรจังหวัด,หอการค้าจังหวัด,นายอำเภอโคกสูง, นายอำเภออรัญประเทศ, นายอำเภอตาพระยา,นายอำเภอคลองหาด,นายอำเภออรัญประเทศ, ทต.โคกสูง,ทม.อรัญประเทศ ,อบต.ตาพระยา ,อตบ.คลองไก่เถื่อน,อบต.ทับพริก,อบต.ทัพเสด็จ, รพ.ตาพระยา,รพ.คลองหาด,กก.ตชด.12,ฉก.กรมทหารพรานที่ 12 และ 13 
  • ผู้แทนชาวบ้านในหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากทุ่นระเบิด ได้แก่ กำนันและผู้ใหญ่บ้าน กว่า 30 คน ใน จ.สระแก้ว
  • เจ้าหน้าที่ของ TMAC และ นปท.1 
เริ่มต้นด้วยการบรรยายความรู้เรื่องสถานการณ์ทุ่นระเบิดในประเทศไทย สถานการณ์ทุ่นระเบิดใน จ.สระแก้ว และการปฏิบัติงานของ นปท.1 หลังจากนั้น แยกประชุมการประชุมเชิงปฏิบัติการเป็นกลุ่มย่อย แยกเป็น 2 หัวข้อ คือ (1) ความร่วมมือของชุมชนในพื้นที่กับ นปท.1 สำหรับการปรับลดพื้นที่แบบ Land Release ในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว และ (2)ลำดับความเร่งด่วนในการดำเนินการปรับลดพื้นที่แบบ Land Release


พื้นที่อันตรายใน จ.สระแก้ว
จ.สระแก้วเหลือพื้นที่อันตรายที่ยืนยันว่ายังมีทุ่นระเบิด (Confirmed Hazardous Area: CHA) อยู่ จำนวน 18,934,097 ตร.เมตร คิดเป็นพื้นที่ได้  47 แห่ง แยกเป็นอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 31 แห่ง ในอุทยานแห่งชาติ 6 แห่ง รวม 16,668,412 ตร.เมตร และอยู่่ในพื้นที่ทั่วไป 10 แห่ง   รวม 2,265,685 ตร.เมตร

สาระสำคัญจากการประชุม ในทัศนะส่วนตัวแล้ว  พอสรุปได้ดังนี้ 
  1. การปรับลดพื้นที่สนามทุ่นระเบิดด้วยวิธี Land Release นี้  ส่วนใหญ่ผู้เข้าร่วมประชุมยังไม่ค่อยเข้าใจวิธีการ  คงมีแต่เฉพาะเจ้าหน้าที่ของ TMAC และ นปท.1 เท่านั้นที่พอเข้าใจอยู่บ้าง แต่ก็ยังไม่ชัดเจนเนื่องจากเป็นวิธีการที่เริ่มนำมาใช้ใหม่ในปี พ.ศ.2555 นี้ 
  2. ผูู้แทนชาวบ้านพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการแจ้งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับพื้นที่ที่ยังมีทุ่นระเบิดตกค้าง และอยากให้ นปท.1 เข้าดำเนินการเคลียร์พื้นที่โดยเร็ว 
  3. ลำดับความเร่งด่วนในการกวาดล้าง คือ พื้นที่ทำมาหากินของชาวบ้าน 
  4. ปัญหาที่ยังต้องรอคือ พื้นที่อันตรายที่ยืนยันว่ายังมีทุ่นระเบิด (CHA)  ที่ทับซ้อนระหว่างเขตแดนของประเทศไทยและกัมพูชา ซึ่งยังไม่มีความชัดเจนในการปักปันเขตแดน
  5. ปัญหาการประสานงาน การติดต่อสื่อสาร และการแบ่งปันข้อมูลระหว่าง นปท.1, เจ้าหน้าที่ภาครัฐอื่นๆ ,มูลนิธิ, NGO และชาวบ้าน ยังไม่สามารถเชื่อมโยงกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ


**********************************
TMAC-DOCE : 26 เม.ย.2555

ไม่มีความคิดเห็น: